กฎข้อ 1 ก็คือห้ามติ่ง ว่าด้วยเรื่อง ความเป็นส่วนตัวของศิลปิน กับ Stagehand

by

กฎข้อ 1 ก็คือห้ามติ่ง ว่าด้วยเรื่อง ความเป็นส่วนตัวของศิลปิน กับ Stagehand

เกือบทุกครั้งเมื่อถูกคนรู้จักถามว่าทำงานอะไร? แล้วพวกเราเหล่ามนุษย์งานหลังเวที ตอบไปว่าทำคอนเสิร์ต! สีหน้าของคนถามจะเปลี่ยนไปในทันใด รอยยิ้มพร้อมดวงตาที่เบิกกว้าง แววตาที่เป็นประกายด้วยความตื่นเต้นนั้น จะตามมาด้วยคำถามว่า งั้นก็ได้เจอดาราศิลปิน คนโน้น นี้ นั้นสิ จบด้วยคำว่า น่าอิจฉาจัง!

 

แต่เดี๋ยวนะ…จริงอยู่เราได้เจอได้เห็นศิลปินคนดังทั้งไทยและอินเตอร์มากมายก็จริง แต่อย่าคิดว่าพวกเราจะได้กระทบไหล่ใกล้ชิด ขอลายเซ็น ถ่ายเซลฟี่อะไรแบบนั้นได้หรอกนะ เรื่องจริงคือโอกาสแบบนั้นมันไม่มี และถึงมันจะเป็นไปได้ ด้วยมารยาทและจรรยาบรรณ ความเป็นมืออาชีพมันค้ำคออยู่ ซึ่ง

ข้อแรก ที่เป็นกฏ ที่พวกเรายึดถือนั่นก็คือ “ห้ามติ่ง” ศิลปินหลังเวที

Dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Integer ultrices sollicitudin ante in posuere. Donec eu posuere libero, ut fermentum purus. Fusce iaculis dictum tortor, eu pellentesque tellus fermentum vel. Nam a magna fermentum, scelerisque purus sed, tristique ipsum. Sed non lorem aliquet, maximus nibh tincidunt, gravida arcu. Donec quis sodales purus. Ut porttitor magna nec massa tristique.

รักนะแต่ไม่แสดงออก!! แน่นอน มันต้องมีซักคอนเสิร์ตที่มีโอกาสได้เจอกับศิลปินที่เราติ่งในสถานะที่เราเป็นคนทำงาน  ความรู้สึกมันเป็นอย่างไร อธิบายง่ายๆ เหมือนคนรักนะแต่ไม่แสดงออก เขาเดินผ่า่นเราก็ต้องทำเฉยๆ ไม่ได้พูดคุย ไม่สบตา ไม่ได้ยิ้มให้ เวลาได้ดูพวกเขาซ้อมหรือโชว์บนเวทีตอนซ้อมก็ต้องนั่งนิ่งหรือปฏิบัติหน้าที่ไปโดยที่ไม่มีโอกาสซึมซับบรรยากาศหรือปลดปล่อยพลังติ่งในตัวเหมือนแฟนๆ ที่ซื้อบัตรมาดู

นอกจากจะแสดงออกไม่ได้แล้ว ยังคงต้องคอยช่วยสอดส่องบุคคลแปลกปลอมที่อาจไม่ประสงค์ดี ซึ่งในบางครั้งพวกนี้ก็เซียนมากห้อยบัตร Staff ใส่เสื้อ Staff เหมือนของทีมงานเป๊ะ ทำตีเนียนมาเดินเล่นที่หลังเวที ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครมาด้วยเหตุผลใด

 

“แต่หากมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น เช่น ของหาย หรือมีรูปที่ไม่เหมาะสมหลุดออกไป นั่นหมายความว่าเราอาจกลายเป็นประเทศที่ติดแบล็กลิสต์ และเขาอาจไม่มาเล่นคอนเสิร์ตที่บ้านเราอีกต่อไป”

 

ช่วงเวลาที่มนุษย์งานอย่างเราจะได้เจอได้มองเห็นศิลปินใกล้ๆ นั้นน้อยมากเพราะจะเป็นแค่การเดินผ่านในที่มืดๆ จากรถไปห้องพัก จากห้องพักถึงเวที คือมีความสุขใจ

 

“เมื่อทำงานในวงการนี้นานๆ ความเป็นมืออาชีพจะสอนให้รู้ว่า Privacy หรือความเป็นส่วนตัวของศิลปินคือความรักรูปแบบที่เราสามารถมอบให้กับพวกเขาได้เช่นกัน”

 

เก็บตกหลังเวทีที่หลายคนอาจไม่รู้

– การซาวน์เช็คคอนเสิร์ตฝรั่งเกือบทั้งหมดไม่มีการซ้อม เค้าเป๊ะมาแล้ว อย่างมอกก็มีซาวน์เช็ค 3-4 เพลง ซึ่งศิลปินอาจมาหรือไม่มาก็ได้ และบางครั้งก็จะไม่อนุญาตให้ทีมงานอื่นที่ไม่ใช่ของศิลปินอยู่ในฮอลล์ด้วย

 

“- บัตร Staff แบบ All Area ก็ไม่ได้แปลว่าจะไปอยู่ตรงจุดไหนก็ได้เสมอไป”

 

โซนที่ต้องใกล้ชิดกับศิลปินจริงๆ เช่น ห้องแต่งตัว หรือบนเวที จะต้องมีบัตรหรือริสแบนด์พิเศษที่ออกให้โดยทีมงานของศิลปิน โดยจำกัดจำนวนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

 

– การถ่ายรูปศิลปิน ห้ามถ่ายรูปศิลปิน(นอกจากศิลปินเรียกมาถ่ายด้วย) หรือถ้าถ่ายภาพกว้างจากงานได้ ก็ห้ามโพสต์ลงในสื่อโซเซี่ยลทันที ต้องลงรูปหลังจบงานเท่านั้น